เป้าหมายรายสัปดาห์ : เข้าใจและสามารถถ่ายทอดทัศคติและมุมมองต่างๆต่อเรื่องราวที่ได้อ่านจากวรรณกรรม
Week
|
Input
|
Process
|
Output
|
Outcome
|
๙
๕–
๙ ก.ย.
๒๕๕๘
|
วรรณกรรมเรื่อง : ไม้หลา ปริศนาแห่งม้าตัวหนึ่ง (ทบทวนวรรณกรรมทั้งหมด)
หลักภาษา : การเขียนสรุปองค์ความรู้
-
ถ่ายทอดแก่นแท้ของวรรณกรรมและหลักภาษา
Key Questions :
- นักเรียนคิดว่าวรรณกรรมเรื่องนี้ผู้แต่งต้องการสื่อเรื่องอะไร
- นักเรียนคิดว่าเราสามารถถ่ายอดสิ่งที่ได้เรียนรู้จากวรรณกรรมให้ผู้อื่นร่วมเรียนรู้ด้วยได้อย่างไร
เครื่องมือคิด :
Round Robin : ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับการนำเสนอและถ่ายทอดสิ่งที่ได้เรียนรู้ให้ผู้อื่นได้ร่วมเรียนรู
Show and Share :
รูปแบบการจัดนิทรรศการกาลและการสรุปองค์ความรู้
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- หนังสือวรรณกรรม เรื่อง “ไม้หลา ปริศนาแห่งม้าตัวหนึ่ง”
|
วันจันทร์ 1 ชั่วโมง
ชง : นักเรียนร่วมกันอ่านวรรณกรรมโดยการอ่านออกเสียงพร้อมกัน
และในช่วงท้ายเป็นการอ่านคนเดียวไม่ออกเสียง
เชื่อม : ครูตั้งคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่านโดยให้สอดรับกับพฤติกรรมสมอง
ดังนี้
จำ : ให้นักเรียนเรียงลำดับเหตุการณ์ของเรื่อง,บอกชื่อตัวละคร,
เข้าใจ : นักเรียนช่วยกันสรุปเนื้อเรื่องหรือข้อคิดที่ได้จากเรื่อง
วิเคราะห์/สังเคราะห์ : นักเรียนช่วยกันวิเคราะห์/สังเคราะห์เหตุการณ์
ลักษณะรูปลักษณ์ของตัวละครและท่าทางที่แสดงออก
นำไปใช้ : นักเรียนเทียบเคียงเรื่องราวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในวรรณกรรมที่อ่านกับเหตุการณ์ปัจจุบัน
ประเมินค่า : นักเรียนคิดว่า
การกระทำของตัวละครเหมาะสมหรือไม่ เหตุการณ์ต่อไปจะเป็นอย่างไร
สร้างสรรค์ : นักเรียนแต่ละคนสะท้อนมุมมองต่อเรื่องราวในรูปแบบการตั้งคำถาม
และตอบคำถามนั้น โดยใช้ทัศนคติของนักเรียนในการวิเคราะห์
ใช้ : นักเรียนแต่ละคนตั้งคำถาม และตอบคำถามจากวรรณกรรมคนละ ๑๐ คำถาม
โดยใช้ทัศนคติของนักเรียนในการวิเคราะห์
วันอังคาร 1 ชั่วโมง
ชง : ครูตั้งคำถามกระตุ้นคิด “นักเรียนคิดว่าวรรณกรรมเรื่องนี้ผู้แต่งต้องการสื่อเรื่องอะไร?”
เชื่อม : นักเรียนแต่ละคนร่วมแสดงความคิดเห็น
ใช้ :
นักเรียนแต่ละคนวิเคราะห์สิ่งที่ได้เรียนรู้จากวรรณกรรมและเขียนสรุป
วันพุธ 1 ชั่วโมง
ชง : ครูใช้คำถามกระตุ้นกรคิด “นักเรียนคิดว่าเราสามารถถ่ายอดสิ่งที่ได้เรียนรู้จากวรรณกรรมให้ผู้อื่นร่วมเรียนรู้ด้วยได้อย่างไร”
เชื่อม : นักเรียนแต่ละคนร่วมแสดงความคิดเห็น
ใช้ : นักเรียนแต่ละคนแสดงความคิดเห็นและเริ่มต้นสรุปองค์ความรู้หลังเรียน
วันพฤหัสบดี 1 ชั่วโมง
ใช้ : นักเรียนแต่ละคนสรุปองค์ความรู้หลังเรียน
-
นักเรียนแต่ละคนร่วมจัดนิทรรศการกาลและถ่ายทอดความเชื่อมโยงของวิชาภาษาไทยกับการเชื่อมโยงกับกลุ่มสาระวิชาอื่นๆ
- นักเรียนแต่ละคนสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
|
ภาระงาน : วิเคราะห์เหตุการณ์และสิ่งที่ได้เรียนรู้จากวรรณกรรม
- วางแผนรูปแบบการนำเสนอ
สิ่งที่ได้เรียนรู้
- นำเสนอสิ่งที่ได้เรียนรู้
ในรูปแบบที่วางแผน
- สรุปการเรียนรู้หลังเรียน
ในรูปแบบ Mind Mapping
ชิ้นงาน :
- Mind Mapping สรุปการเรียนรู้หลังเรียน
|
ความรู้ : เข้าใจและสามารถถ่ายทอดทัศคติและมุมมองต่างๆต่อเรื่องราวที่ได้อ่านจากวรรณกรรม
ทักษะ :
ทักษะการคิด
การคิดเชื่อมโยงเรื่องที่อ่านกับชีวิตประจำวันของตนเองได้
ทักษะการสื่อสาร
- ถ่ายทอดทัศคติและมุมมองต่างๆต่อเรื่องราวที่ได้อ่านจากวรรณกรรม
ทักษะการเรียนรู้
-
การวางแผนทำชิ้นงานสอดคล้องของเนื้อหาและ กิจกรรมที่ได้เรียนรู้
- มีความกระตือรือร้นและลงมือทำสิ่งที่ได้เรียนรู้ด้วยตนเอง
คุณลักษณะ :
- เคารพ สิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่นอย่างไม่มีอคติ
- มีความรับผิดชอบ
กระตือรือร้นในการทำงาน
- คิดสร้างสรรค์ชิ้นงาน
- ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
|
ประมวลภาพกิจกรรมการเรียนรู้



ตัวอย่างชิ้นงาน
- สรุปสัปดาห์
- สรุปการเรียนรู้หลังเรียน
บันทึกหลังการเรียนรู้
ตอบลบสัปดาห์นี้เป็นช่วงการสรุปองค์ความรู้หลังเรียนและการถ่ายทอดสิ่งที่ตนเองได้เรียนรู้ให้ผู้อื่นได้ร่วมเรียนรู้ ซึ่งภายหลังการนำเสนอความเข้าใจและสิ่งที่พี่ๆแต่ละคนได้จากการเรียนรู้ร่วมกับวรรณกรรมไม้หลา คุณครูได้ให้โจทย์กับพี่ๆว่า “เราจะมารถถ่ายทอดสิ่งที่ได้เรียนรู้ โดยให้ผู้อื่นเห็นความเชื่อมโยงระหว่าวิชาภาษาไทยกับสาระวิชาอื่นได้อย่างไร”
ซึ่งคุณครูแบ่งพี่ๆ ออกเป็น ๒ กลุ่มแยก ชายหญิง เพื่อให้เห็นแนวความคิดที่แตกต่างกัน ได้ข้อสรุปว่า ในช่วงการเปิดบ้าน มนสิ้น Quarter 2 นี้ในช่วงหนึ่งของรายการ ทุกคนจะแบ่งการนำเสนอเป็นวิชาต่างๆ และพูดถึงความเชื่อโยงของวิชานั้นกับบูรณาการ และเพื่อความเชื่อมโยงและต่อเนื่องคุณครูได้เตรียมการบ้านให้กับพี่ๆทุกคน ในช่วงปิดเทอมนี้ ในวิชาภาษาไทย เป็นการเขียนเรียงความ ในหัวข้อ “ชีวิตความเป็นอยู่ของเรา” ค่ะ