เป้าหมายรายสัปดาห์ : เข้าใจและสามารถอธิบายชนิดและหน้าที่ของคำในประโยคจากจากหนังสือวรรณกรรมตอนนี้ที่บรรยากาศ ของการดำเนินชีวิตของม้าและคนเลี้ยงม้า
รวมถึงการแสดงออก ตามสัญชาติญาณของม้าวัยรุ่นที่สำคัญในความสง่างามของตนเอง ในช่วงอายุหนึ่งเพื่อต้องการเรียกร้องความสนใจจากสิ่งอื่นรอบตัวได้
Week
|
Input
|
Process
|
Output
|
Outcome
|
๓
๒๔–
๒๘ ส.ค. ๒๕๕๘
|
โจทย์ : ตอนที่ ๒-๓
วรรณกรรมเรื่อง : ไม้หลา ปริศนาแห่งม้าตัวหนึ่ง (ตอนที่ ๒-๓)
หลักภาษา : ชนิดและหน้าที่ของคำ
Key Questions :
- นักเรียนคิดว่าจากวรรณกรรมที่อ่านในตอนที่
๒ การดำเนินชีวิตของม้าด่างเป็นอย่างไร
- คำแต่ละประเภทที่จัดหมวดหมู่
มีความแตกต่างกันอย่างไร
เครื่องมือคิด :
Round Robin : ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องราวที่เกิดขึ้นในตอนที่๒-๓ ของวรรณกรรม ไม้หลา “ปริศนาแห่งม้าตัวหนึ่ง”
Show and Share : องค์ประกอบที่จะนำมาเขียนเป็นแผนภาพโครงเรื่อง
และรูปแบบหน้าที่ของคำแต่ละประเภท
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- หนังสือวรรณกรรมต่างประเทศเรื่อง
ไม้หลา “ปริศนาแห่งม้าตัวหนึ่ง”
- คำศัพท์ ๒๐คำ
- บทความ
ช่วงหนึ่งของ วรรณกรรมในตอนที่ ๒
|
วันจันทร์ 1 ชั่วโมง
ชง : นักเรียนร่วมกันอ่านวรรณกรรมโดยการอ่านออกเสียงพร้อมกัน
และในช่วงท้ายเป็นการอ่านคนเดียวไม่ออกเสียง
เชื่อม : ครูตั้งคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่านโดยให้สอดรับกับพฤติกรรมสมอง
ดังนี้
จำ : ให้นักเรียนเรียงลำดับเหตุการณ์ของเรื่อง,บอกชื่อตัวละคร,
เข้าใจ : นักเรียนช่วยกันสรุปเนื้อเรื่องหรือข้อคิดที่ได้จากเรื่อง
วิเคราะห์/สังเคราะห์ : นักเรียนช่วยกันวิเคราะห์/สังเคราะห์เหตุการณ์
ลักษณะรูปลักษณ์ของตัวละครและท่าทางที่แสดงออก
นำไปใช้ : นักเรียนเทียบเคียงเรื่องราวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในวรรณกรรมที่อ่านกับเหตุการณ์ปัจจุบัน
ประเมินค่า : นักเรียนคิดว่า
การกระทำของตัวละครเหมาะสมหรือไม่ เหตุการณ์ต่อไปจะเป็นอย่างไร
สร้างสรรค์ : นักเรียนแต่ละคนสะท้อนมุมมองต่อเรื่องราวใน
รูปแบบภาพวาด ที่ถ่ายทอดบรรยากาศของเหตุการณ์
ใช้ : วาดภาพบรรยายเหตุการณ์ นำเสนอผลงาน
และสรุปเรื่องที่ได้เรียนรู้ในวันนี้
ชง : ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนจะสามารถถ่ายทอด
ความเข้าใจจากเรื่องที่อ่านในรูปแบบแผนภาพโครงเรื่องได้อย่างไร?”
เชื่อม : นักเรียนแต่ละคนร่วมแสดงความคิดเห็น
ใช้ : นักเรียนแต่ละคนออกแบบแผนภาพโครงเรื่องของเรื่องราวในตอนที่ ๒ (การบ้าน)
วันอังคาร 1 ชั่วโมง
ชง : ครูตั้งคำถามกระตุ้นคิด “นักเรียนคิดว่าจากวรรณกรรมที่อ่านในตอนที่ ๒ การดำเนินชีวิตของม้าด่างเป็นอย่างไร?”
เชื่อม : นักเรียนแต่ละคนร่วมแสดงความคิดเห็น
- ครูและนักเรียนร่วมกิจกรรมเขียนตามคำบอก ๒๐ คำจากวรรณกรรมตอนที่ ๒และ๓ จากเรื่องไม้หลา “ปริศนาแห่งม้าตัวหนึ่ง”
เชื่อม : นักเรียนและครูร่วมเฉลยคำศัพท์ พร้อมร่วมกันเล่นเกม
“ Bingo คำศัพท์”
ใช้ : นักเรียนหาความหมายของคำศัพท์และนำคำศัพท์ไปแต่งนิทานตามจินตนาการอย่างสร้างสรรค์
วันพุธ 1 ชั่วโมง
ชง : ครูนำบทความ ช่วงหนึ่งของ
วรรณกรรมในตอนที่ ๒ แจกให้นักเรียนแต่ละคน
เชื่อม : ครูและนักเรียนร่วมวิเคราะห์และขีดเส้นใต้คำที่คิดว่าเป็น
(คำเชื่อม,คำนาม , คำบุพบท,คำวิเศษ, และคำสันธาน)
ชง : ครูใช้คำถามกระตุ้น “คำแต่ละประเภทที่จัดหมวดหมู่
มีความแตกต่างกันอย่างไร?”
- นักเรียนแต่ละคนนำเสนอคำที่ได้จากบทความ พร้อมจัดหมวดหมู่
ใช้ : นักเรียนนำคำที่ได้มาแต่งนิทาน คนละ ๑ เรื่อง
พร้อมนำเสนอ
วันพฤหัสบดี 1 ชั่วโมง
ชง : นักเรียนแต่ละคนนำเสนอแผนภาพโครงเรื่องงของตนเอง
เชื่อม :
ครูและนักเรียนอภิปรายร่วมกันเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้
ใช้ : นักเรียนแต่ละคนสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
|
ภาระงาน : วิเคราะห์เหตุการณ์และสิ่งที่ได้เรียนรู้จากวรรณกรรมและสรุปในรูปแบบภาพเหตุการณ์
-
จัดหมวดหมู่คำและนำมาแต่งนิทาน ๑เรื่อง
- ออกแบบแผนภาพโครงเรื่องของเรื่องราวในตอนที่
๒ พร้อมนำเสนอ
- สรุปองค์รู้ที่ได้จากกระบวนการเรียนรู้ในสัปดาห์นี้
ชิ้นงาน : นิทานจากคำ
- ภาพวาดเหตุการณ์ในตอนที่ ๒-๓
- แผนภาพโครงเรื่อง
วรรณกรรมไม้หลา : ตอนที่ ๒-๓
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
|
ความรู้ : เข้าใจและสามารถอธิบายชนิดและหน้าที่ของคำในประโยคจากจากหนังสือวรรณกรรมตอนนี้ที่บรรยากาศของการดำเนินชีวิตของม้าและคนเลี้ยงม้า
รวมถึงการแสดงออกตามสัญชาติญาณของม้าวัยรุ่นที่สำคัญในความสง่างามของตนเองในช่วงอายุหนึ่งเพื่อต้องการเรียกร้องความสนใจจากสิ่งอื่นรอบตัวได้
ทักษะ :
ทักษะการคิด
การคิดเชื่อมโยงเรื่องที่อ่านกับชีวิตประจำวันของตนเองได้
ทักษะการสื่อสาร
- สามารถอธิบายและถ่ายทอดความ
เข้าใจเกี่ยวกับชนิดและหน้าที่ของคำในรูปแบบนิทานได้
- อธิบายสิ่งที่ตนเอง/กลุ่มวางแผนและจัดทำชิ้นงานในรูปแบบแผนภาพโครงเรื่องได้อย่างมีเหตุผลและน่าสนใจ
- สามารถถ่ายทอดเรื่องราวตามความเข้าใจของตนเองได้อย่างลึกซึ้ง
ทักษะการเรียนรู้
-
การวางแผนทำชิ้นงานสอดคล้องของเนื้อหาและ กิจกรรมที่ได้เรียนรู้
- มีความกระตือรือร้นและลงมือทำสิ่งที่ได้เรียนรู้ด้วยตนเอง
คุณลักษณะ :
- เคารพ สิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่นอย่างไม่มีอคติ
- มีความรับผิดชอบ
กระตือรือร้นในการทำงาน
- คิดสร้างสรรค์ชิ้นงาน
- ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
|
ประมวลภาพกิจกรรมการเรียนรู้








ตัวอย่างชิ้นงาน





หลักภาษา "คำและหน้าที่ของคำ"



ตัวอย่างการจัดหมวดหมู่คำโดย ดึงคำดังกล่าว จากวรรณกรรมที่ได้อ่าน


ตัวอย่างสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
บันทึกหลังการเรียนรู้
ตอบลบสำหรับสัปดาห์นี้เป็นกิจกรรมการเรียนรู้ที่เริ่มต้นด้วยการวรรณกรรมตอนที่ ๒-๓ ต่อเนื่องจากในสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแก่นของวรรณกรรมในตอนนี้ได้ถ่ายทอดเกี่ยวกับบรรยากาศของการดำเนินชีวิตของม้าและคนเลี้ยงม้า รวมถึงการแสดงออก ตามสัญชาติญาณของม้าวัยรุ่นที่สำคัญในความสง่างามของตนเองในช่วงอายุหนึ่งเพื่อต้องการเรียกร้องความสนใจจากสิ่งอื่นรอบตัวได้ โดยหลักภาษาที่ใช้ทำกิจกรรในสัปดาห์นี้คือ คำและหน้าที่ของคำ โดยคุณครูได้ดึงคำประเภทต่างๆที่ปรากฏในวรรณกรรมในตอนที่อ่านนี้ มาร่วมเรียนรู้ เพื่อเพิ่มความเข้าใจต่อเรื่องราวที่สอดคล้องกันค่ะ ซึ่งกิจกรรมเป็นรูปแบบของการวิเคราะห์ รูปแบบและลักษณะบทบาทของหน้าที่ของคำที่ถูกนำมาใช้ในประโยคต่างๆ เช่น คำนำ คำกิริยา คำสันธาน คำบุพบท ฯลฯ พี่ ป.5 สามารถทำความเข้าใจได้อย่างรวดเร็ว เนื่องจากเคยผ่านเรียนรู้เกี่ยวกับคำต่างๆมาบ้างแล้ว