เป้าหมายรายสัปดาห์ : เข้าใจและสามารถอธิบายชนิดและหน้าที่ของคำในประโยคจากจากหนังสือวรรณกรรมตอนนี้ที่บรรยากาศของการดำเนินชีวิตของม้าและคนเลี้ยงม้า
รวมถึงการแสดงออก ตามสัญชาติญาณของม้าวัยรุ่นที่สำคัญในความสง่างามของตนเองในช่วงอายุหนึ่งเพื่อต้องการเรียกร้องความสนใจจากสิ่งอื่นรอบตัวได้
Week
|
Input
|
Process
|
Output
|
Outcome
|
|
๔
๓๑ – ๔ ก.ย. ๒๕๕๘
|
โจทย์ : ตอนที่ ๔-๕
วรรณกรรมเรื่อง : ไม้หลา ปริศนาแห่งม้าตัวหนึ่ง (ตอนที่ ๔-๕)
หลักภาษา : ชนิดและหน้าที่ของประโยค
Key Questions :
- นักเรียนคิดว่าสิ่งสำคัญของเรื่องราวในวรรณกรรมตอนที่
๔ และ ๕ คืออะไร
- นักเรียนรู้จักประโยคประเภทใดบ้าง
และแต่ละประเภทมีลักษณะเป็นอย่างไร
เครื่องมือคิด :
Round Robin : ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับชนิดและหน้าที่ของประโยค
|
วันจันทร์ 1 ชั่วโมง
ชง : นักเรียนร่วมกันอ่านวรรณกรรมโดยการอ่านออกเสียงพร้อมกัน
และในช่วงท้ายเป็นการอ่านคนเดียวไม่ออกเสียง
เชื่อม : ครูตั้งคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่านโดยให้สอดรับกับพฤติกรรมสมอง
ดังนี้
จำ : ให้นักเรียนเรียงลำดับเหตุการณ์ของเรื่อง,บอกชื่อตัวละคร,
เข้าใจ : นักเรียนช่วยกันสรุปเนื้อเรื่องหรือข้อคิดที่ได้จากเรื่อง
วิเคราะห์/สังเคราะห์ : นักเรียนช่วยกันวิเคราะห์/สังเคราะห์เหตุการณ์
ลักษณะรูปลักษณ์ของตัวละครและท่าทางที่แสดงออก
นำไปใช้ : นักเรียนเทียบเคียงเรื่องราวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในวรรณกรรมที่อ่านกับเหตุการณ์ปัจจุบัน
ประเมินค่า : นักเรียนคิดว่า
การกระทำของตัวละครเหมาะสมหรือไม่ เหตุการณ์ต่อไปจะเป็นอย่างไร
สร้างสรรค์ : นักเรียนแต่ละคนสะท้อนมุมมองต่อเรื่องราวใน
รูปแบบการแสดงทัศนะคติของตนเองต่อเรื่องราวที่ได้อ่าน
ใช้ : วิเคราะห์และแสดงทัศนคติต่อคำถามที่คุณครูกำหนดซึ่งเป็นสะท้อนความเข้าใจที่เป็นแก่นสำคัญของวรรณกรรม
วันอังคาร 1 ชั่วโมง
ชง : ครูตั้งคำถามกระตุ้นคิด “นักเรียนคิดว่าสิ่งสำคัญของเรื่องราวในวรรณกรรมตอนที่ ๔ และ ๕ คืออะไร?”
เชื่อม : นักเรียนแต่ละคนร่วมแสดงความคิดเห็น
- ครูและนักเรียนร่วมกิจกรรมเขียนตามคำบอก ๑๕ คำจากวรรณกรรมตอนที่ ๔ และ ๕ จากเรื่องไม้หลา “ปริศนาแห่งม้าตัวหนึ่ง”
เชื่อม : นักเรียนและครูร่วมเฉลยคำศัพท์ และคำที่เขียนผิดแก้ไขร่วมกัน
ใช้ : นักเรียนแต่ละคนนำคำศัพท์ที่ได้มาร่วมกิจกรรม “คำศัพท์ประจำตำแหน่ง” พร้อมนำเสนอประโยคที่ได้
วันพุธ 1 ชั่วโมง
ชง : ครูใช้คำถามกระตุ้น “นักเรียนรู้จักประโยคประเภทใดบ้าง
และแต่ละประเภทมีลักษณะเป็นอย่างไร?”
เชื่อม : นักเรียนแต่ละคนร่วมนำเสนอความคิดเห็น
ชง : ครูเขียน ประโยค ต่อไปนี้ บนบอร์ด
1.นกบิน
2.ฉันรักเขามากแต่ทว่าเขาไม่รักฉันเลย
3.เขาบอกให้ฉันลุกขึ้นยืนทันที
เชื่อม : ครูและนักเรียนวิเคราะห์และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกัน
เกี่ยวกับประโยคทั้ง ๓ ชนิด ซึ่งประกอบด้วย ประโยคความซ้อน ประโยคความเดียว และประโยคความรวม
ใช้ : ครูกำหนดประโยคให้นักเรียน จำนวน ๘ ประโยค
- นักเรียนแต่ละคนวิเคราะห์และนำเสนอความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับข้อสังเกตและรูแบบการทำหน้าที่ของประโยคและคำเชื่อมต่างๆ
วันพฤหัสบดี 1 ชั่วโมง
เชื่อม : ครูแจกหนังสือวรรณกรรม “ไม้หลา” ให้นักเรียนแต่ละคน
ใช้ : นักเรียนแต่ละคนวิเคราะห์ประโยคต่างๆที่ปรากฏบนวรรณกรรมตอนที่
๔-๕ นำมาเขียน พร้อมจัดหมวดหมู่
- ครูและนักเรียนอภิปรายร่วมกันเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้
- นักเรียนแต่ละคนสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
|
ภาระงาน : วิเคราะห์เหตุการณ์และสิ่งที่ได้เรียนรู้จากวรรณกรรมและร่วมเขียนแสดงทัศนะคติต่อแก่นแท้ของวรรณกรรมในตอนที่
๔-๕
- วิเคราะห์และแต่งประโยคจากคำศัพท์
-
วิเคราะห์รูปประโยคต่างๆ ในวรรณกรรมตอนที่ ๔-๕ พร้อมจัดหมวดหมู่
ชิ้นงาน :
- ชาร์ตจัดหมวดหมู่ประโยคจากวรรณกรรม
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
|
ความรู้ : เข้าใจและสามารถอธิบายชนิดและหน้าที่ของประโยคได้จากวรรณกรรมที่ได้ถ่ายทอดเรื่องราวและพฤติกรรมการแสดงออกเพื่อข่มเหงผู้ซึ่งไร้การขัดขืน
เพียงเพราะ
รูปลักษณ์ภายนอก
ทักษะ :
ทักษะการคิด
การคิดเชื่อมโยงเรื่องที่อ่านกับชีวิตประจำวันของตนเองได้
ทักษะการสื่อสาร
- อธิบายสิ่งที่ตนเอง/กลุ่มวางแผนและจัดทำชิ้นงานในรูปแบบการ์ตูนช่องและภาพวาดเหตุการณ์จากวรรณกรรมที่อ่านได้
ทักษะการเรียนรู้
-
การวางแผนทำชิ้นงานสอดคล้องของเนื้อหาและ กิจกรรมที่ได้เรียนรู้
- มีความกระตือรือร้นและลงมือทำสิ่งที่ได้เรียนรู้ด้วยตนเอง
คุณลักษณะ :
- เคารพ สิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่นอย่างไม่มีอคติ
- มีความรับผิดชอบ
กระตือรือร้นในการทำงาน
- คิดสร้างสรรค์ชิ้นงาน
- ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
|
ประมวลภาพกิจกรรม






ตัวอย่างชิ้นงาน
ตัวอย่างสรุปสัปดาห์
บันทึกหลังการเรียนรู้
ตอบลบในสัปดาห์นี้เริ่มต้นกิจกรรมด้วยการอ่านวรรณกรรมเช่นเดิมค่ะ ซึ่งในตอนนี้เป็นการถ่ายทอดบรรยากาศของการดำเนินชีวิตของม้าและคนเลี้ยงม้า รวมถึงการแสดงออก ตามสัญชาติญาณของม้าวัยรุ่นที่สำคัญในความสง่างามของตนเองในช่วงอายุหนึ่งเพื่อต้องการเรียกร้องความสนใจจากสิ่งอื่นรอบตัว โดยกระบวนการที่ช่วยให้พี่ๆ ป.๕ เข้าใจ แก่นของวรรณกรรมในตอนนี้ โดยคุณครูได้ให้แต่ละคนได้ลองแสดงทัศนคติต่อคำถามที่คุณครู ตั้งขึ้น โดย แต่ละคำถามจะเชื่อมโยงกับเหตุการณ์และแนวคิดสำคัญที่มาจากวรรณกรรม เช่น “เพราะเหตุใดแม่ของม้าด่างจึงแสดงออกต่อลูกตนเองเช่นนั้น ?” หรือ “แท้จริงแล้วม้าด่างเป็นใครและมาจากไหน?”
หลักภาษา ที่ใช้ในสัปดาห์นี้เป็นเรื่องของประโยคต่างๆที่ปรากฏในวรรณกรรม โดยคุณครูได้นำร่องกิจกรรมด้วยการวิเคราะห์ประโยคต่อไปนี้ เช่น 1.นกบิน 2.ฉันรักเขามากแต่ทว่าเขาไม่รักฉันเลย 3. เขาบอกให้ฉันลุกขึ้นยืนทันที ซึ่งแต่ละประโยค มีทั้งประโยคความเดียว ประโยคความร่วมและประโยคความซ้อนให้ได้วิเคราะห์และบอกข้อสังเกตต่างๆ แต่ละคนมีความคิดเห็นที่แตกต่างกันจากสิ่งที่สังเกตเห็นตามความเข้าใจ เช่น พี่นุ่น “ถ้าเป็นประโยคความเดียว เวลาที่เราอ่านประโยคก็จะเข้าใจและว่าใครทำอะไรค่ะ” พี่มายด์ “ถ้าเป็นประโยคความรวมก็จะมีคำสันธาน เข้ามาเกี่ยวข้องเป็นการเชื่อมประโยคที่ ๑ กับประโยคที่ ๒ ค่ะ” พี่ชนม์ “ประโยคความซ้อนคือ จะมีเหตุการณ์เกิดขึ้นสองเหตุการณ์ ซึ่งเหตุการณ์ที่สองจะเป็นผลที่เกิดจาเหตุการณ์แรก ” หลังจากนั้นคุณครูได้ให้ พื่ๆ ค้นหาประโยคต่างๆจากหนังสือวรรณกรรมที่อ่าน พร้อมทั้งจัดหมวดหมู่ และบอกหน้าที่ของประโยคและคำในประต่างๆที่ดึงมา