เป้าหมายรายสัปดาห์ : สามารถถ่ายทอดเรื่องราวจากความเข้าใจที่ได้จากการการอ่านหรือตามจินตนาการในรูปแบบการเขียนและการพูดได้
Week
|
Input
|
Process
|
Output
|
Outcome
|
||
๘
๒๑ –
๒๕ ก.ย.
๒๕๕๘
|
วรรณกรรมเรื่อง : ไม้หลา ปริศนาแห่งม้าตัวหนึ่ง (ตอนที่ ๑๒-๑๓)
หลักภาษา : สระคงรูป สระลดรูปและสระประสม
- การแต่งเรื่องสั้น
- การเขียนบรรยาย
Key Questions :
- นักเรียนคิดว่าท่านชายเซอร์ปุคอฟสกอยมีความคาดหวังอะไรกับการมาเยี่ยมชมคอกม้า
ของเศรษฐี ๒ สามีภรรยา
- นักเรียนคิดว่าผู้แต่งวรรณกรรมเรื่อง
เรื่องราวของ ไม้หลา (ม้าด่าง) ต้องการถ่ายทอดเรื่องใดแก่ผู้อ่าน
เครื่องมือคิด :
Round Robin : ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับรูปแบบลักษณะของคำศัพท์ที่ประกอบเสียงขึ้นจากสระต่างๆเช่น
สระคงรูป สระลดรูป สระประสม สระเสียงสั้น
/ ยาว
และทบทวนแก่นของวรรณกรรมเรื่องไม้หลา
“ปริศนาแห่งม้าตัวหนึ่ง”
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- หนังสือวรรณกรรม เรื่อง “ไม้หลา ปริศนาแห่งม้าตัวหนึ่ง”
|
วันจันทร์ 1 ชั่วโมง
ชง : นักเรียนร่วมกันอ่านวรรณกรรมโดยการอ่านออกเสียงพร้อมกัน
และในช่วงท้ายเป็นการอ่านคนเดียวไม่ออกเสียง
เชื่อม : ครูตั้งคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่านโดยให้สอดรับกับพฤติกรรมสมอง
ดังนี้
จำ : ให้นักเรียนเรียงลำดับเหตุการณ์ของเรื่อง,บอกชื่อตัวละคร,
เข้าใจ : นักเรียนช่วยกันสรุปเนื้อเรื่องหรือข้อคิดที่ได้จากเรื่อง
วิเคราะห์/สังเคราะห์ : นักเรียนช่วยกันวิเคราะห์/สังเคราะห์เหตุการณ์
ลักษณะรูปลักษณ์ของตัวละครและท่าทางที่แสดงออก
นำไปใช้ : นักเรียนเทียบเคียงเรื่องราวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในวรรณกรรมที่อ่านกับเหตุการณ์ปัจจุบัน
ประเมินค่า : นักเรียนคิดว่า
การกระทำของตัวละครเหมาะสมหรือไม่ เหตุการณ์ต่อไปจะเป็นอย่างไร
สร้างสรรค์ : นักเรียนแต่ละคนสะท้อนมุมมองต่อเรื่องราวในรูปแบบการตั้งคำถาม
และตอบคำถามนั้น โดยใช้ทัศนคติของนักเรียนในการวิเคราะห์
ใช้ : นักเรียนแต่ละคนตั้งคำถาม และตอบคำถามจากวรรณกรรมคนละ ๒๕ คำถาม นั้น
โดยใช้ทัศนคติของนักเรียนในการวิเคราะห์
วันอังคาร 1 ชั่วโมง
ชง : ครูตั้งคำถามกระตุ้นคิด “นักเรียนคิดว่าท่านชายเซอร์ปุคอฟสกอยมีความคาดหวังอะไรกับการมาเยี่ยมชมคอกม้า
ของเศรษฐี ๒ สามีภรรยา?”
เชื่อม : นักเรียนแต่ละคนร่วมแสดงความคิดเห็น
ใช้ : นักเรียนแต่ละคนร่วมแต่งตอนจบของวรรณกรรม “ไม้หลา” ใหม่
วันพุธ 1 ชั่วโมง
ชง : ครูและนักเรียนร่วมทบทวนสระต่างๆ
ที่ได้จากการสืบค้นข้อมูลในสัปดาห์ที่แล้ว
เชื่อม : ครูและนักเรียนร่วมสังเกตและแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับคำศัพท์ที่อยู่ในรูปสระต่างๆที่ปรากฏในวรรณกรรมตอนที่๑๒
– ๑๓
ใช้ : นักเรียนแต่ละคนถ่ายทอดความเข้าใจเกี่ยวกับสระโดยการแต่งนิทานสระ
ตามความสนใจ
วันพฤหัสบดี 1 ชั่วโมง
เชื่อม : นักเรียนแต่ละคนนำเสนอนิทานสระของตนเองให้เพื่อและครูได้ร่วมเรียนรู้
- ครูและนักเรียนอภิปรายร่วมกันเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้
ชง : ครูใช้คำถามกระตุ้น “นักเรียนคิดว่าผู้แต่งวรรณกรรมเรื่อง
เรื่องราวของ ไม้หลา (ม้าด่าง) ต้องการถ่ายทอดเรื่องใดแก่ผู้อ่าน?”
เชื่อม : นักเรียนจับฉลากแบ่งกลุ่มและจับฉลากเลือกตอนจากวรรณกรรมที่อ่าน
(ทั้งหมด ๑๓ ตอน )
และแสดงบทบาทสมมุติเพื่อทบทวนความเข้าใจและแก่นแท้ของวรรณกรรม
ใช้ : นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมแสดงบทบาทสมมุติ จากวรรณกรรมที่จับฉลากได้
โดยเรียงลำดับจากตอนที่ ๑- ๑๓
- ครูและนักเรียนอภิปรายร่วมกันเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้
- นักเรียนแต่ละคนสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
|
ภาระงาน : วิเคราะห์เหตุการณ์และสิ่งที่ได้เรียนรู้จากวรรณกรรมและสรุปในรูปแบบการตั้งคำถามและตอบคำถาม
- แต่งเรื่องสั้นจากคำศัพท์และนำเสนอ
- วิเคราะห์คำศัพท์จากวรรณกรรมที่มีสระต่างๆร่วมอยู่
และถ่ายทอดความเข้าใจในรูปแบบนิทานสระ
- ทบทวนความเข้าใจของของวรรณกรรม
และถ่ายทอดในรูปแบบทบาทสมมุติ
ชิ้นงาน :
- เรื่องสั้น
- นิทานสระ
-
สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
|
ความรู้ : สามารถถ่ายทอดเรื่องราวจากความเข้าใจที่ได้จากการการอ่านหรือตามจินตนาการในรูปแบบการเขียนและการพูดได้
ทักษะ :
ทักษะการคิด
การคิดเชื่อมโยงเรื่องที่อ่านกับชีวิตประจำวันของตนเองได้
ทักษะการสื่อสาร
- ถ่ายทอดเรื่องราวจากความเข้าใจที่ได้จากการการอ่านหรือตามจินตนาการในรูปแบบการเขียนและการพูด
ทักษะการเรียนรู้
-
การวางแผนทำชิ้นงานสอดคล้องของเนื้อหาและ กิจกรรมที่ได้เรียนรู้
-
มีความกระตือรือร้นและลงมือทำสิ่งที่ได้เรียนรู้ด้วยตนเอง
คุณลักษณะ :
- เคารพ สิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่นอย่างไม่มีอคติ
- ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
|
ประมวลภาพกิจกรรมการเรียนรู้
ตัวอย่างชิ้นงาน
- ตัวอย่างการแต่งตอนจบใหม่จากวรรณกรรมไม้หลา ตามจินตนาการ
- ตัวอย่างสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
บันทึกหลังการเรียนรู้
ตอบลบสำหรับสัปดาห์นี้เป็นโค้งเกือบสุดท้ายของการเรียนรู้จากวรรณกรรม เรื่อง ไม้หลา “ปริศนาแห่งม้าตัวหนึ่ง” ของพี่ๆ ป.๕ และคุณครู เนื่องจากเป็นวรรณกรรมตอนสุดท้าย ซึ่งเป็นบทสรุปของไม้หลา และตัวละครเอกทั้งหลายที่ถูกปลดปล่อยตนเองจากทุกสิ่ง ด้วยความตาย ในเวลาที่ไล่เลี่ยกัน ซึ่งพี่ๆและคุณครูก็ได้ร่วมกันอ่านและตั้งคำถามต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในวรรณกรรมเล่มนี้ ด้วยคำถามหลัก ไม่กี่คำถามว่า “ผู้แต่งต้องการถ่ายทอดเรื่องอะไรให้กับผู้อ่าน” และ “หากนักเรียนอยากเป็นตัวละครในเรื่องสัก หนึ่งตัวนักเรียนต้องการเป็นใคร เพราะอะไร” ในคำถามแรก พี่ๆให้ความคิดเห็นแตกต่างกันไปค่ะ เช่น พี่มายด์ “ต้องการถ่ายทอดความเป็นมนุษย์ ในแง่ความเห็นแก่ตัว” พี่ออโต้ “สุดท้ายแล้ว เมื่อตายลง ร่าง มนุษย์ไม่สามารถนำไปใช้อะไรได้เลย แม้อาหารของสัตว์” สำหรับคำถามที่สอง พี่อายให้เหตุผลว่า “ผมอยากเป็นม้าด่างครับ เพราะอดทนกับคำพูดของมนุษย์ แถมวิ่งเร็ว และฉลาด” ต่อเนื่องด้วยกิจกรรมให้พี่ๆ แต่งตอนจบของวรรณกรรม ตามจินตนาการของแต่ละคน และจับกลุ่มแสดงบทบาทสมมุติจากวรรณกรรมตอนที่๑- ๑๓ (ตอบจบ)เพีอทบทวนความเข้าใจแก่นของวรรณกรรม
หลักภาษาที่นำมาใช้เรียนรู้ในสัปดาห์นี้ จะเกี่ยวเนื่องจากสัปดาห์ที่แล้วคือเรื่องสระต่างๆ โดยคุณครูและพี่ๆได้ร่วมกันวิเคราะห์คำศัพท์จากวรรณกรรมที่ประกอบเสียงขึ้นด้วยสระต่างๆ หลังจากนั้นก็ได้ให้พี่ๆถ่ายทอดความเข้าใจเกี่ยวกับสระในรูปแบบของการ์ตูนช่องและสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ค่ะ