เป้าหมาย (understanding Goal):

เป้าหมาย (understanding Goal): ผู้เรียนสามารถอ่านและวิเคราะห์เรื่องราวทั้งจากบทร้อยแก้วและร้อยกรองได้ เข้าใจความหมาย จับใจความสำคัญและถ่ายทอดด้วยการเล่า การเขียน อธิบายให้คนอื่นฟังได้อย่างมีเหตุผล มีนิสัยรักการอ่าน ตระหนักและเห็นความสำคัญของเรื่องที่อ่าน สามารถบอกข้อคิดของเรื่องและนำมาใช้ในชีวิตได้ มีมารยาทในการอ่าน การฟัง การพูด การเขียนที่เหมาะสม สามารถสรุปองค์ความรู้และเชื่อมโยงหลักภาษาเพื่อนำมาปรับใช้ในชีวิตได้อย่างสร้างสรรค์และเหมาะสม


Week7


       เป้าหมายรายสัปดาห์  : เข้าใจและสามารถอธิบายความเชื่อมโยงของสระแต่ละประเภทประกอบด้วย สระคงรูป สระลดรูปและสระประสม

Week
Input
Process
Output
Outcome

๒๑ ๒๕ ก.ย.  
๒๕๕๘ 


โจทย์ : ตอนที่ ๙-๑๑
วรรณกรรมเรื่อง : ไม้หลา ปริศนาแห่งม้าตัวหนึ่ง (ตอนที่ ๙-๑๑)
หลักภาษา  : สระคงรูป สระลดรูปและสระประสม

Key Question :
นักเรียนคิดว่าเพราะเหตุใดม้าด่างจึงสามารถดำเนินชีวิตผ่านเหตุการณ์ต่างๆที่แสนลันทดมาได้อย่างภาคภูมิใจ

เครื่องมือคิด :
Round Robin : ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับรูปแบบลักษณะของคำศัพท์ที่ประกอบเสียงขึ้นจากสระต่างๆเช่น สระคงรูป สระลดรูป  สระประสม   สระเสียงสั้น / ยาว
Show and Share :  เหตุการณ์จากวรรณกรรม ตอนที่ ๙ -๑๑
Mind Mapping : จัดหมวดหมู่สระ

สื่อและแหล่งเรียนรู้
- หนังสือวรรณกรรม เรื่อง ไม้หลา ปริศนาแห่งม้าตัวหนึ่ง
- เกม ถอดภาพเป็นคำและปริศนาคำทาย
- ไม้แขวนเสื้อ สำหรับประดิษฐ์ชิ้นงาน
วันจันทร์ 1 ชั่วโมง
ชง  :  นักเรียนร่วมกันอ่านวรรณกรรมโดยการอ่านออกเสียงพร้อมกัน และในช่วงท้ายเป็นการอ่านคนเดียวไม่ออกเสียง
เชื่อม : ครูตั้งคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่านโดยให้สอดรับกับพฤติกรรมสมอง ดังนี้
จำ : ให้นักเรียนเรียงลำดับเหตุการณ์ของเรื่อง,บอกชื่อตัวละคร,
เข้าใจ : นักเรียนช่วยกันสรุปเนื้อเรื่องหรือข้อคิดที่ได้จากเรื่อง
วิเคราะห์/สังเคราะห์ นักเรียนช่วยกันวิเคราะห์/สังเคราะห์เหตุการณ์  ลักษณะรูปลักษณ์ของตัวละครและท่าทางที่แสดงออก
นำไปใช้ : นักเรียนเทียบเคียงเรื่องราวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในวรรณกรรมที่อ่านกับเหตุการณ์ปัจจุบัน
ประเมินค่า : นักเรียนคิดว่า การกระทำของตัวละครเหมาะสมหรือไม่  เหตุการณ์ต่อไปจะเป็นอย่างไร
สร้างสรรค์ : นักเรียนแต่ละคนสะท้อนมุมมองต่อเรื่องราวในรูปแบบการแสดงทัศนะคติของตนเองต่อเรื่องราวที่ได้อ่าน
ใช้ : นักเรียนแต่ละคนลำดับเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นจากวรรณกรรมและสะท้อนมุมมองต่างๆในรูปแบบ Mind Mapping
วันอังคาร 1 ชั่วโมง
ชง : ครูตั้งคำถามกระตุ้นคิด “นักเรียนคิดว่าเพราะเหตุใดม้าด่างจึงสามารถดำเนินชีวิตผ่านเหตุการณ์ต่างๆที่แสนลันทดมาได้อย่างภาคภูมิใจ?”
เชื่อม : นักเรียนแต่ละคนร่วมแสดงความคิดเห็น
- ครูและนักเรียนร่วมกิจกรรมเขียนตามคำบอก ๒๐ คำจากวรรณกรรมตอนที่ ๙-๑๑เรื่องไม้หลา ปริศนาแห่งม้าตัวหนึ่ง
เชื่อม : นักเรียนและครูร่วมเฉลยคำศัพท์  และคำที่เขียนผิดแก้ไขร่วมกัน
ใช้ : นักเรียนแต่ละคนเลือกคำศัพท์จำนวน ๖ คำ มาสร้างภาพวาดเรื่องราว
วันพุธ 1 ชั่วโมง
ชง : ครูและนักเรียนร่วมกันเล่นเกม ถอดภาพเป็นคำและปริศนาคำทาย
เชื่อม :  ครูเลือกบทความสั้นๆจากวรรณกรรม ในตอนที่ ๙-๑๑ มาให้นักเรียนร่วมวิเคราะห์ (สระที่สังเกตเห็น) 
ใช้ : นักเรียนร่วมกันจัดหมวดหมู่ และสรุปในรูปแบบ Mind Mapping
วันพฤหัสบดี 1 ชั่วโมง
ชง:  ครูให้นักเรียนอ่านคำติดไว้บนบอร์ด (คำที่ออกเสียงตามหมวดสระต่างๆ)
เชื่อม : ครูและนักเรียน วิเคราะห์สิ่งที่ได้จากการอ่าน
ชง : ครูและนักเรียนร่วมกันเล่น เกม เปลี่ยนสระซึ่งเกี่ยวกับพยัญชนะต่างๆที่เมื่อผสมกับสระ ทำให้เกิดความหมายใหม่
เชื่อม : ครูและนักเรียนอภิปรายร่วมกันเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้จากกิจกรรม
ใช้ : นักเรียนแต่ละคนสรุปความเข้าใจเกี่ยวกับสระในรูปแบบ ไม้แขวนเสื้อบอกสระ(ใช้อุปกรณ์หลักจากไม้แขนเสื้อ)
- นักเรียนแต่ละคนสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ภาระงาน :  วิเคราะห์เหตุการณ์และสิ่งที่ได้เรียนรู้จากวรรณกรรมและสรุปในรูปแบบภาพเหตุการณ์
- วิเคราะห์รูปแบบสระในวรรณกรรมที่อ่าน
- ลำดับเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นจากวรรณกรรมและสะท้อนมุมมองต่างๆในรูปแบบ Mind Mapping
- วิเคราะห์สิ่งที่ได้อ่าน
- สรุปความเข้าใจเกี่ยวกับสระในรูปแบบ ไม้แขวนเสื้อบอกสระ
- เลือกคำศัพท์จำนวน คำ มาสร้างภาพวาดเรื่องราว

ชิ้นงาน : 
- ภาพวาดเหตุการณ์ในตอนที่  ๙-๑๑
-  Mind Mapping สะท้อนเรื่องราว
- ภาพวาดเรื่องราวจากคำศัพท์
- “ไม้แขวนเสื้อบอกสระ
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ความรู้ : เข้าใจและสามารถอธิบายความเชื่อมโยงของสระแต่ละประเภทประกอบด้วย สระคงรูป สระลดรูปและสระประสม
ทักษะ :
ทักษะการคิด
การคิดเชื่อมโยงเรื่องที่อ่านกับชีวิตประจำวันของตนเองได้
ทักษะการสื่อสาร
อธิบายสิ่งที่ได้เรียนรู้เกี่ยวกับสระในลักษณะต่างๆได้
 ทักษะการเรียนรู้
- การวางแผนทำชิ้นงานสอดคล้องของเนื้อหาและ กิจกรรมที่ได้เรียนรู้
- มีความกระตือรือร้นและลงมือทำสิ่งที่ได้เรียนรู้ด้วยตนเอง
คุณลักษณะ :
เคารพ สิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่นอย่างไม่มีอคติ
มีความรับผิดชอบ กระตือรือร้นในการทำงาน
คิดสร้างสรรค์ชิ้นงาน
ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
ประมวลภาพกิจกรรมการเรียนรู้








ตัวอย่างชิ้นงาน
- ตัวอย่าง การ์ตูนช่อง "นิทานจากคำศัพท์ในวรรณกรรม ไม้หลา  ตอนที่๙ และ ๑๐"

  

- ตัวอย่างชาร์ตจากการสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับ "สระ"

  


 - ตัวอย่างสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์





1 ความคิดเห็น:

  1. บันทึกหลังการเรียนรู้
    ในสัปดาห์นี้พี่ๆ และคุณครูได้อ่านวรรณกรรม เรื่อง ไม้หลา ในตอนที่ ๙ – ๑๐ ซึ่งแก่นของวรรณกรรมในตอนนี้ ถ่ายทอดเกี่ยวกับ ความสุขสูงสุดของสิ่งมีชีวิต ที่มนุษย์ เรียกว่า ม้า และจุดพลิกผันของชีวิต เพียงเพราะมีความสามารถที่ดีแปลกไปจากคนอื่น และอารมณ์ชั่ววูบของมนุษย์ ที่คิดว่าตนเองเป็นเจ้าของทุกๆสิ่ง
    หลักภาษาที่ได้นำมาร่วมเรียนรู้ กับวรรณกรรม ตอนที่ ๙ – ๑๐จะเกี่ยวกับสระ ที่มีลักษณะต่างๆ ประกอบด้วย สระประสม สระเดี่ยว สระเกิน สระเสียงสั้น สระเสียงยาว สรพเติมรูป และสระลดรูป ซึ่งกิจกรรมในสัปดาห์นี้ พี่ๆ แบ่งกลุ่มออกเป็น ๙ กลุ่มและสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับ รูปแบบลักษณะของ สระ ต่างๆ พร้อมทั้งหลังจากที่แต่ละกลุ่มได้สืบค้นข้อมูลแล้ว ก็ได้นำมาร่วมเสนอสิ่งที่ได้เรียนรู้ผ่านแผ่นชาร์ต เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ร่วมกับเพื่อนๆ และคุณครูค่ะ ซึ่งในสัปดาห์หน้าก็ยังเป็นกิจกรรมเกี่ยวกับ เรื่อง สระ เช่นกัน ซึ่งจะมีความเข้มข้นและชัดเจนมากขึ้น เพื่อเพิ่มความเข้าใจเกี่ยวกับหลักภาษา ด้านนี้ต่อไปค่ะ

    ตอบลบ