เป้าหมาย (understanding Goal):

เป้าหมาย (understanding Goal): ผู้เรียนสามารถอ่านและวิเคราะห์เรื่องราวทั้งจากบทร้อยแก้วและร้อยกรองได้ เข้าใจความหมาย จับใจความสำคัญและถ่ายทอดด้วยการเล่า การเขียน อธิบายให้คนอื่นฟังได้อย่างมีเหตุผล มีนิสัยรักการอ่าน ตระหนักและเห็นความสำคัญของเรื่องที่อ่าน สามารถบอกข้อคิดของเรื่องและนำมาใช้ในชีวิตได้ มีมารยาทในการอ่าน การฟัง การพูด การเขียนที่เหมาะสม สามารถสรุปองค์ความรู้และเชื่อมโยงหลักภาษาเพื่อนำมาปรับใช้ในชีวิตได้อย่างสร้างสรรค์และเหมาะสม


Week1

แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้รายวิชา ภาษาไทย
ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ Quarter 2 ปีการศึกษา ๒๕๕๘ โรงเรียนลำปลายลำมาศพัฒนา
แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาไทย
ภาคเรียนที่    Quarter    ปีการศึกษา๒๕๕๘                                                                                          ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕
สัปดาห์ที่    วันที่  ๑๐๑๔ สิงหาคม  ๒๕๕๘
หน่วยการเรียนรู้ : 
ไม้หลา ปริศนาแห่งม้าตัวหนึ่ง                                                                       เวลาเรียน ๔  คาบ  ( ๑ ชั่วโมง / คาบ)
..............................................................................................................................................................................................................................
       เป้าหมายรายสัปดาห์ : เข้าใจและสามารถคาดเดาเรื่องราวที่จะเกิดขึ้นจากหนังสือวรรณกรรมเรื่อง ไม้หลา ปริศนาแห่งม้าตัวหนึ่งได้

Week
Input
Process
Output
Outcome
1
(๑๐๑๔
.ค 58)
โจทย์ : คาดเดาเรื่อง
วรรณกรรมเรื่อง : ไม้หลา ปริศนาแห่งม้าตัวหนึ่ง
หลักภาษา  : ความหมายโดยนัย

Key Questions :
- “นักเรียนคิดว่าเรื่องราวที่เกิดขึ้นในหนังสือเล่มนี้น่าจะเป็นอย่างไร?”
 - ถ้านักเรียนได้ยินคำว่า สีด่างนักเรียนคิดถึงอะไร  และรู้สึกอย่างไร ?”

เครื่องมือคิด :
Round Robin : ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับความหมายโดยนัยของคำต่างๆ
Mind Mapping : สรุปการเรียนรู้ก่อนเรียน
Show and Share :เรื่องราวที่คาดเดาจากหนังสือวรรณกรรม 
 สื่อและแหล่งเรียนรู้
- เกม ถ่าย ซิผลไม้อะไร ?”
- เรื่องสั้น สองมือแม่
- หนังสือวรรณกรรม เรื่อง ไม้หลา ปริศนาแห่งม้าตัวหนึ่ง
- คำสื่อความหมายโดยนัยจากวรรณกรรม อาทิเช่น ดับ  ชุดดำ  ชักใย  แกะดำ  ขี้ริ้ว ฯลฯ
วันจันทร์ 1 ชั่วโมง
ชง  :  ครูและนักเรียนร่วมเล่นเกม ถ่าย ซิผลไม้อะไร ?” ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ให้นักเรียนได้ร่วมทายชื่อผลไม้ชนิดต่างๆหลังจากครูอ่านคำทายที่เป็นประโยคสื่อความหมายต่างๆ
- ครูใช้คำถามกระตุ้น นักเรียนมีความเข้าใจในวิชาภาษาไทยเกี่ยวกับเรื่องอะไรบ้าง?”
เชื่อม : นักเรียนแต่ละคนร่วมเสนอความคิดเห็น
- นักเรียนแต่ละคนสรุปความเข้าใจเกี่ยวกับวิชาภาษาไทยที่ได้เรียนรู้ผ่านมาแล้ว ในรูปแบบ Mind Mapping
วันอังคาร 1 ชั่วโมง
* 12 ..หยุดวันแม่แห่งชาติ
วันพุธ 1 ชั่วโมง
ชง  :  ครูอ่านเรื่องสั้น สองมือแม่ให้นักเรียนฟัง
เชื่อม : นักเรียนแต่ละคนวิเคราะห์สิ่งที่ได้เรียนรู้จากเรื่องที่ฟัง
- ครูให้นักเรียนดูหนังสือวรรณกรรม เรื่อง ไม้หลา ปริศนาแห่งม้าตัวหนึ่ง
ชง : ครูใช้คำถามกระตุ้น นักเรียนสังเกตเห็นอะไรบ้างจากหนังสือเล่มนี้?”
เชื่อม : นักเรียนแต่ละคนร่วมแสดงความคิดเห็น
ชง : ครูใช้คำถามกระตุ้น นักเรียนคิดว่าเรื่องราวที่เกิดขึ้นในหนังสือเล่มนี้น่าจะเป็นอย่างไร?”
เชื่อม : นักเรียนแต่ละคนร่วมแสดงความคิดเห็นในรูปแบบการ์ตูนช่อง
- นักเรียนแต่ละคนนำเสนอเรื่องราว ที่ได้คาดเดาเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นจากวรรณกรรม
วันพฤหัสบดี 1 ชั่วโมง
ชง : ครูเปิดภาพ สิ่งมีชีวิตที่มีขนาดใหญ่ที่สุด  และเล็กที่สุดในโลกให้นักเรียนดูพร้อมเล่าเรื่องราวให้ฟัง
- ครูใช้คำถามกระตุ้น ถ้านักเรียนได้ยินคำว่า อีกา นักเรียนคิดถึงอะไร  และรู้สึกอย่างไร ?”
เชื่อม : นักเรียนแต่ละคนนำเสนอความคิดเห็น
ชง : ครูใช้คำถามกระตุ้น ถ้านักเรียนได้ยินคำว่า สีด่างนักเรียนคิดถึงอะไร  และรู้สึกอย่างไร ?”
เชื่อม : นักเรียนแต่ละคนนำเสนอความคิดเห็น
- ครูเขียนคำ บนบอร์ด  อาทิเช่น ดับ  ชุดดำ  ชักใย  แกะดำ  ขี้ริ้ว ฯลฯ และให้นักเรียน เขียนบรรยาย บอก ความหมายโดยนัยของคำที่ครูกำหนด
- นักเรียนแต่ละคนเขียนความหมายโดยนัยตามทัศนคติของตนเอง และนำเสนอให้เพื่อและครูฟัง
ภาระงาน : วิเคราะห์และสรุปความเข้าใจเกี่ยวกับวิชาภาษาไทยที่ได้เรียนรู้ผ่านมาแล้วในรูปแบบMind Mapping
-  คาดเดาเรื่องจากวรรณกรรม ไม้หลา ปริศนาแห่งม้าตัวหนึ่ง  โดยถ่ายทอดผ่านการแต่งเรื่องราวพร้อมนำเสนอในรูปแบบการ์ตูนช่อง
- วิเคราะห์ความหมายโดยนัยของคำ
ชิ้นงาน :  Mind Mapping ก่อนเรียนวิชาภาษาไทย
- การ์ตูนช่อง คาดเดาเรื่อง ไม้หรา ปริศนาแห่งม้าตัวหนึ่ง
ความรู้ : เข้าใจและสามารถคาดเดาเรื่องราวที่จะเกิดขึ้นจากหนังสือวรรณกรรมเรื่อง ไม้หลา ปริศนาแห่งม้าตัวหนึ่งได้
ทักษะ :
ทักษะการคิด
การคิดเชื่อมโยงเรื่องที่อ่านกับชีวิตประจำวันของตนเองได้
ทักษะการสื่อสาร
อธิบายสิ่งที่ตนเอง/กลุ่มวางแผนและจัดทำชิ้นงานได้อย่างมีเหตุผลและน่าสนใจ
 ทักษะการเรียนรู้
- การวางแผนทำชิ้นงานสอดคล้องของเนื้อหาและ กิจกรรมที่ได้เรียนรู้
- มีความกระตือรือร้นและลงมือทำสิ่งที่ได้เรียนรู้ด้วยตนเอง
คุณลักษณะ :
เคารพ สิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่นอย่างไม่มีอคติ
มีความรับผิดชอบ กระตือรือร้นในการทำงาน
คิดสร้างสรรค์ชิ้นงาน
ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
ประมวลภาพกิจกรรม



ตัวอย่างชิ้นงาน
   ตัวอย่าง  การคาดเดาเรื่องราว จากวรรณกรรม ไม้หลา "ปริศนาแห่งม้าตัวหนึ่ง"



 

  

ตัวอย่าง  Mind Mapping (ก่อนเรียน)



ตัวอย่างสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ 




1 ความคิดเห็น:

  1. บันทึกหลังการเรียนรู้
    ในสัปดาห์นี้ก่อนที่จะเข้าสู่กิจกรรมการเรียนรู้คุณครูก็ได้ให้พี่ๆ เขียน Mind Mapping ก่อนเรียนสำหรับวิชาภาษาไทยก่อน เพื่อวิเคราะห์พื้นฐานของแต่ละคนค่ะ ต่อเนื่องด้วยในวันต่อมา ก็เป็นกิจกรรมการคาดเดาเรื่องราวจาหนังสือวรรณกรรม เรื่อง ไม้หลา “ปริศนาแห่งม้าตัวหนึ่ง” บางคนเมื่อได้ยินชื่อหนังสือนี้แล้ว ก็บอกับคุณครูว่า ผมคิดว่า น่าจะเป็นชื่อของไม้ครับ แต่เสียงส่วนใหญ่ของห้อง เห็นว่าเป็นชื่อของ “ม้า”ค่ะ คุณครูก็เลยให้พี่แต่ละคน ช่วยคาดเดาเรื่องราวที่คิดว่าน่าจะเกิดขึ้นในหนังสือเล่มนี้ ในรูปแบบการ์ตูนช่อง เรื่องของแต่ละคน แต่งไปแตกต่างกัน บ้างก็ว่าเป็นม้าที่หลงมา บ้างก็ว่าเป็นม้ากลับใจ เรื่องราวของแต่ละคนจะเป็นอย่างไร ลองเขาไปอ่านได้ในบล็อกนะคะ หลังจากนั้นคุณครูก็นำเรื่องราวหลักภาษาเกี่ยวกับเรื่อง “ความหมายโดยนัย” โดยใช้คำถามว่า “ถ้าคุณครูพูดคำว่า อีกา พี่คิดถึงอะไร และรู้สึกอย่างไร?” แต่ละคนร่วมแสดงความคิดเห็น เช่น พี่นุ่น“ หนูรู้สึกกลัว เพราะว่า มันเหมือนความตายค่ะ ” พี่ภัทร “ผมรู้สึกนิ่งๆ เพราะว่ามันดูเข้ม สงบครับ” หลังจากนั้นคุณครูก็เลยเขียนคำต่างๆประมาณ ๑๒ คำ ดอกไม้ ดับ ไฟเขียว ฯลฯ และให้แต่ละคน เขียนความรู้สุกและความหมายของตนเองที่จะให้แกคำๆนี้ พร้อมทั้งนำมาแชร์ร่วมกันค่ะ หลังจากนั้นก็เป็นการสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์สำหรับ สัปดาห์ที่ ๑นี้ค่ะ

    ตอบลบ