เป้าหมายรายสัปดาห์
: เข้าใจและสามารถอธิบายที่มาและการใช้ภาษาต่างประเทศที่ปรากฏอยู่บนเรื่องราวภายในวรรณกรรมที่แสดงสถานะในการดำเนินชีวิตของม้าด่างที่มนุษย์
เป็นผู้แสดงออก เพียงเพราะคำว่า “ของของฉัน”
Week
|
Input
|
Process
|
Output
|
Outcome
|
|
๕
๗ –
๑๑ ก.ย.
๒๕๕๘
|
โจทย์ : ตอนที่ ๖
วรรณกรรมเรื่อง : ไม้หลา ปริศนาแห่งม้าตัวหนึ่ง (ตอนที่ ๖)
หลักภาษา :
คำที่มาจากภาษาต่างประเทศ
Key Questions :
นักเรียนคิดว่าคำว่า “ของของฉันจากวรรณกรรมในตอนที่๖ หมายถึงอะไร
เครื่องมือคิด :
Round Robin : ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับลักษณะคำที่มาจากภาษาต่างประเทศ
พร้อมร่วมจดหมวดหมู่
|
วันจันทร์ 1 ชั่วโมง
ชง : นักเรียนร่วมกันอ่านวรรณกรรมโดยการอ่านออกเสียงพร้อมกัน
และในช่วงท้ายเป็นการอ่านคนเดียวไม่ออกเสียง
เชื่อม : ครูตั้งคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่านโดยให้สอดรับกับพฤติกรรมสมอง
ดังนี้
จำ : ให้นักเรียนเรียงลำดับเหตุการณ์ของเรื่อง,บอกชื่อตัวละคร,
เข้าใจ : นักเรียนช่วยกันสรุปเนื้อเรื่องหรือข้อคิดที่ได้จากเรื่อง
วิเคราะห์/สังเคราะห์ : นักเรียนช่วยกันวิเคราะห์/สังเคราะห์เหตุการณ์
ลักษณะรูปลักษณ์ของตัวละครและท่าทางที่แสดงออก
นำไปใช้ : นักเรียนเทียบเคียงเรื่องราวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในวรรณกรรมที่อ่านกับเหตุการณ์ปัจจุบัน
ประเมินค่า : นักเรียนคิดว่า
การกระทำของตัวละครเหมาะสมหรือไม่ เหตุการณ์ต่อไปจะเป็นอย่างไร
สร้างสรรค์ : นักเรียนแต่ละคนสะท้อนมุมมองต่อเรื่องราวในรูปแบบการแสดงทัศนะคติของตนเองต่อเรื่องราวที่ได้อ่าน
ใช้ : นักเรียนแต่ละคนลำดับเหตุการณ์สำคัญที่เกดขึ้นจากวรรณกรรมและสะท้อนแก่นแท้ของวรรณกรรมในตอนนี้ในรูปแบบชาร์ตภาพ
วันอังคาร 1 ชั่วโมง
ชง : ครูตั้งคำถามกระตุ้นคิด “นักเรียนคิดว่าคำว่า “ของของฉันจากวรรณกรรมในตอนที่๖
หมายถึงอะไร”?”
เชื่อม : นักเรียนแต่ละคนร่วมแสดงความคิดเห็น
- ครูและนักเรียนร่วมกิจกรรมเขียนตามคำบอก ๒๐ คำจากวรรณกรรมตอนที่ ๖ เรื่องไม้หลา “ปริศนาแห่งม้าตัวหนึ่ง”
เชื่อม : นักเรียนและครูร่วมเฉลยคำศัพท์ และคำที่เขียนผิดแก้ไขร่วมกัน
ใช้ : นักเรียนแต่ละคนนำเลือกคำศัพท์จำนวน ๑๕ พร้อมนำมาแต่งนิทาน
วันพุธ 1 ชั่วโมง
ชง : ครูแลนกเรียนเล่นเกม “ฟังภาษา
มาจากไหน “ ซึ่งเป็นกิจกรรมเกี่ยวกับความแตกต่างด้านภาษาที่ต้องการสื่อความหมายสิ่งเดียวกัน
เชื่อม : ครูและนักเรียนอภิปรายร่วมกันเกี่ยวกับกิจกรรม
- ครูและนักเรียนร่วมกันวิเคราะห์ภาษาต่างประเทศที่ปรากฏบน
วรรณกรรมไม้หลา ตอนที่ ๖
- นักเรียนจับฉลากแบ่งกลุ่ม
ใช้ : แต่ละกลุ่มออกแบบ “พจนานุกรม
ภาษาต่างประเทศ”
สำหรับวรรณกรรมเรื่องไม้หรา
วันพฤหัสบดี 1 ชั่วโมง
เชื่อม : นักเรียนแต่ละคนนำเสนอกลุ่มภาษาต่างประเทศจากวรรณกรรมผ่าพจนานุกรมที่ออกแบบ
ใช้ : ครูและนักเรียนอภิปรายร่วมเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้
- นักเรียนแต่ละคนสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
|
ภาระงาน : วิเคราะห์เหตุการณ์และสิ่งที่ได้เรียนรู้จากวรรณกรรมและสรุปในรูปแบบภาพเหตุการณ์
- อภิปรายร่วมกันเกี่ยวกับเกม
“ฟังภาษา มาจากไหน”
- ลำดับเหตุการณ์สำคัญที่เกดขึ้นจากวรรณกรรมและสะท้อนแก่นแท้ของวรรณกรรมในตอนนี้ในรูปแบบชาร์ตภาพ
- ออกแบบ “พจนานุกรม ภาษาต่างประเทศ” สำหรับวรรณกรรมเรื่องไม้หราพร้อมนำเสนอ
ชิ้นงาน :
- ภาพวาดเหตุการณ์ในตอนที่ ๖
- ชาร์ตภาพ
- “พจนานุกรม ภาษาต่างประเทศ” สำหรับวรรณกรรมเรื่องไม้หรา
|
ความรู้ : เข้าใจและสามารถอธิบายที่มาและการใช้ภาษาต่างประเทศที่ปรากฏอยู่บนเรื่องราวภายในวรรณกรรมที่แสดงสถานะในการดำเนินชีวิตของม้าด่างที่มนุษย์
เป็นผู้แสดงออก เพียงเพราะคำว่า “ของของฉัน”
ทักษะ :
ทักษะการคิด
การคิดเชื่อมโยงเรื่องที่อ่านกับชีวิตประจำวันของตนเองได้
ทักษะการสื่อสาร
- อธิบายสิ่งที่ตนเองได้เรียนรู้เกี่ยวกับคำที่มาจากภาษาต่างประเทศในรูปแบบพจนานุกรมได้
ทักษะการเรียนรู้
-
การวางแผนทำชิ้นงานสอดคล้องของเนื้อหาและ กิจกรรมที่ได้เรียนรู้
-
มีความกระตือรือร้นและลงมือทำสิ่งที่ได้เรียนรู้ด้วยตนเอง
คุณลักษณะ :
- เคารพ สิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่นอย่างไม่มีอคติ
- มีความรับผิดชอบ
กระตือรือร้นในการทำงาน
- คิดสร้างสรรค์ชิ้นงาน
- ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
|
ประมวลภาพกิจกรรมการเรียนรู้





ตัวอย่างชิ้นงาน
- ภาพสะท้อน เหตุการณ์จากวรรณกรรม ไม้หรา ตอนที่ ๖
- ตัวอย่าง ชาร์ตรูปภาพสรุปความเข้าใจต่อเหตุการณ์ในวรรณกรรมตอนที่ ๖



- ตัวอย่างนิทานจากคำศัพท์ (ที่เลือกมาจากวรรณกรรมตอนที่ ๖)




- ตัวอย่าง หนังสือเล่มเล็ก หมวดภาษาต่างประเทศจากหนังสือวรรณกรรม



- ตัวอย่างสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
บันทึกหลังการเรียนรู้
ตอบลบในสัปดาห์นี้เป็นกิจกรรมการเรียนรู้เกี่ยวกับภาษาต่างประเทศ ที่เรามักนำมาชีร่วมกับภาษาไทย ซึ่งภายหลังจากที่คุณครูและพี่ๆได้ร่วมกันอ่านวรรณกรรมในตอนที่ ๖ แล้ว คุณครูก็ได้ให้พี่ช่วยกันวิเคราะห์คำที่ได้เขียนไว้บนบอร์ด ว่าคำเหล่านี้มาจากภาษาอะไร เช่น ก๋วยเตี๋ยว ชาบุชิ เทมปุระ ดำเนิน ดำริ หลังจากที่วิเคราะห์กันเรียบร้อยแล้ว ก็ได้ร่วมกันจัดหมวดหมู่ ซึ่งกิจกรรมต่อมาเป็นการสืบค้นหาคำศัพท์ที่มาจาภาษาต่างประเทศ ที่ปรากฏในวรรณกรรมตอนที่ ๖ ที่ได้อ่านพร้อมทั้งนำมาทำหนังสือเล่มเล็กที่บรรจุคำที่มาจากภาษาต่างๆ ซึ่งส่วนใหญ่ เป็นภาษาอังกฤษ และบาลีสันสกฤต ในช่วงการเรียนรู้ต่อมาคุณครูและพี่ๆได้ ร่วมกันวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับความแตกต่างของคำบาลี และสันสกฤต ว่าแตกต่างกันอย่างไร และมีข้อสังเกตอะไรบ้าง ซึ่งหลังการวิเคราะห์ ได้เพิ่มเติมความเข้าใจ โดยการทำแบบฝึกหัดค่ะ