เป้าหมาย (understanding Goal):

เป้าหมาย (understanding Goal): ผู้เรียนสามารถอ่านและวิเคราะห์เรื่องราวทั้งจากบทร้อยแก้วและร้อยกรองได้ เข้าใจความหมาย จับใจความสำคัญและถ่ายทอดด้วยการเล่า การเขียน อธิบายให้คนอื่นฟังได้อย่างมีเหตุผล มีนิสัยรักการอ่าน ตระหนักและเห็นความสำคัญของเรื่องที่อ่าน สามารถบอกข้อคิดของเรื่องและนำมาใช้ในชีวิตได้ มีมารยาทในการอ่าน การฟัง การพูด การเขียนที่เหมาะสม สามารถสรุปองค์ความรู้และเชื่อมโยงหลักภาษาเพื่อนำมาปรับใช้ในชีวิตได้อย่างสร้างสรรค์และเหมาะสม


Week6


       เป้าหมายรายสัปดาห์  : เข้าใจและสามารถอธิบายรูปแบบการใช้ตัวการันต์ในภาษาไทยจากบทบรรยายที่กล่าวไว้ในวรรณกรรมที่เกี่ยวกับความจริงที่ถูกครอบงำและบิดเบือนด้วยสัญชาตญาณความกลัวของมนุษย์ที่จะเป็นภัยต่อตัวเองได้

Week
Input
Process
Output
Outcome

๑๔ ๑๘ ก.ย.  
๒๕๕๘ 


โจทย์ : ตอนที่ ๗-๘
วรรณกรรมเรื่อง : ไม้หลา ปริศนาแห่งม้าตัวหนึ่ง (ตอนที่ ๗-๘)
หลักภาษา  : ตัวการันต์

Key Question :
จากตอนหนึ่งของวรรณกรรมในประโยคที่ว่า..บางครั้งมนุษย์กลัวที่จะเผชิญความจริง  นักเรียนคิดว่าจริงหรือไม่เพราะเหตุใด?”

เครื่องมือคิด :
Round Robin : ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับลักษณะคำที่มีตัวการันต์  และบทบาทหน้าที่ของคำการันต์ ร่วมถึงที่มาของพยัญชนะที่มีตัวการันต์กำกับอยู่ด้วย

Show and Share :  เหตุการณ์จากวรรณกรรม ตอนที่ ๗-๘

สื่อและแหล่งเรียนรู้
- หนังสือวรรณกรรม เรื่อง ไม้หลา ปริศนาแห่งม้าตัวหนึ่ง
- คำตัวการันต์  เช่น  จันทร์เสี้ยว  ผลลัพธ์  มนุษย์  อิทธิฤทธิ์ ฯลฯ
- เกม ถูกๆผิดๆ กับ ตัวการันต์ 
เช่น สค์าตง  ,ล์รมถลเม ,ณ์กสหร
วันจันทร์ 1 ชั่วโมง
ชง  :  นักเรียนร่วมกันอ่านวรรณกรรมโดยการอ่านออกเสียงพร้อมกัน และในช่วงท้ายเป็นการอ่านคนเดียวไม่ออกเสียง
เชื่อม : ครูตั้งคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่านโดยให้สอดรับกับพฤติกรรมสมอง ดังนี้
จำ : ให้นักเรียนเรียงลำดับเหตุการณ์ของเรื่อง,บอกชื่อตัวละคร,
เข้าใจ : นักเรียนช่วยกันสรุปเนื้อเรื่องหรือข้อคิดที่ได้จากเรื่อง
วิเคราะห์/สังเคราะห์ นักเรียนช่วยกันวิเคราะห์/สังเคราะห์เหตุการณ์  ลักษณะรูปลักษณ์ของตัวละครและท่าทางที่แสดงออก
นำไปใช้ : นักเรียนเทียบเคียงเรื่องราวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในวรรณกรรมที่อ่านกับเหตุการณ์ปัจจุบัน
ประเมินค่า : นักเรียนคิดว่า การกระทำของตัวละครเหมาะสมหรือไม่  เหตุการณ์ต่อไปจะเป็นอย่างไร
สร้างสรรค์ : นักเรียนแต่ละคนสะท้อนมุมมองต่อเรื่องราวในรูปแบบการแสดงทัศนะคติของตนเองต่อเรื่องราวที่ได้อ่าน
ใช้ : นักเรียนแต่ละคนลำดับเหตุการณ์สำคัญที่เกดขึ้นจากวรรณกรรมและสะท้อนแก่นแท้ของวรรณกรรมในตอนนี้ในรูปแบบชาร์ตภาพ
วันอังคาร 1 ชั่วโมง
ชง : ครูตั้งคำถามกระตุ้นคิด “จากตอนหนึ่งของวรรณกรรมในประโยคที่ว่า..บางครั้งมนุษย์กลัวที่จะเผชิญความจริง  นักเรียนคิดว่าจริงหรือไม่เพราะเหตุใด?”
เชื่อม : นักเรียนแต่ละคนร่วมแสดงความคิดเห็น
- ครูและนักเรียนร่วมกิจกรรมเขียนตามคำบอก ๒๐ คำจากวรรณกรรมตอนที่ ๗-๘ เรื่องไม้หลา ปริศนาแห่งม้าตัวหนึ่ง
เชื่อม : นักเรียนและครูร่วมเฉลยคำศัพท์  และคำที่เขียนผิดแก้ไขร่วมกัน
ใช้ : นักเรียนแต่ละคนเลือกคำศัพท์จำนวน ๑๐ คำ มาสร้างกระถางดอกไม้บอกคำศัพท์
วันพุธ 1 ชั่วโมง
ชง : ครูให้นักเรียน เขียนคำในภาษาไทย ที่มีตัวการันต์ ที่ตนเองรู้จัก (ให้ได้มากที่สุด โดยกำหนดเวลา ๓ นาที)
เชื่อม : ครูและนักเรียนอภิปรายร่วมกันเกี่ยวกับตัวการันต์ในภาษาไทย
- นักเรียนร่วมกันถอดคำที่มีตัวการันต์ในวรรณกรรมไม้หลาตอนที่ ๗-๘ (ครูเลือกมาช่วงสั้นๆ)
ใช้ : นักเรียนแต่ละคนจัดหมวกหมู่คำที่มีตัวการันต์และนำมาสร้าง โมบายบัตรคำ
วันพฤหัสบดี 1 ชั่วโมง
ชง : ครูและนักเรียนร่วมกัน เล่นเกม ถูกๆผิดๆ กับ ตัวการันต์  ( เช่น สค์าตง  ,ล์รมถลเม ,ณ์กสหร
เชื่อม : ครูและนักเรียนอภิปรายร่วมกันเกี่ยวกับกิจกรรม
ใช้ : นักเรียนสรุปความเข้าใจเกี่ยวกับตัวการันต์ ในรูปแบบ ตารางภาพและคำ
- นักเรียนแต่ละคนสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ภาระงาน :  วิเคราะห์เหตุการณ์และสิ่งที่ได้เรียนรู้จากวรรณกรรมและสรุปในรูปแบบภาพเหตุการณ์
- เลือกคำศัพท์จำนวน ๑๐ คำ มาสร้างกระถางดอกไม้บอกคำศัพท์
- อภิปรายร่วมกันเกี่ยวกับตัวการันต์ และสร้างโมบายตัวการันต์
- เล่นเกม ถูกๆผิดๆ กับ ตัวการันต์
- สรุปความเข้าใจเกี่ยวกับตัวการันต์ ในรูปแบบ ตารางภาพและคำที่มีตัวการันต์

ชิ้นงาน : 
- ภาพวาดเหตุการณ์ในตอนที่  ๗-๘ภาพ
- กระถางดกไม้บอกคำศัพท์
- โมบายตัวการันต์
- ตารางภาพและคำที่มีตัวการันต์
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ความรู้ : เข้าใจและสามารถอธิบายรูปแบบการใช้ตัวการันต์ในภาษาไทยจากบทบรรยายที่กล่าวไว้ในวรรณกรรมที่เกี่ยวกับความจริงที่ถูกครอบงำและบิดเบือนด้วยสัญชาตญาณความกลัวของมนุษย์ที่จะเป็นภัยต่อตัวเองได้
ทักษะ :
ทักษะการคิด
การคิดเชื่อมโยงเรื่องที่อ่านกับชีวิตประจำวันของตนเองได้
ทักษะการสื่อสาร
อธิบายเกี่ยวกับการใช้ตัวการันต์ในคำที่ปรากฏในวรรณกรรมที่อ่านได้
 ทักษะการเรียนรู้
- การวางแผนทำชิ้นงานสอดคล้องของ เนื้อหาและ กิจกรรมที่ได้เรียนรู้
- มีความกระตือรือร้นและลงมือทำสิ่งที่ได้เรียนรู้ด้วยตนเอง
คุณลักษณะ :
เคารพ สิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่นอย่างไม่มีอคติ
มีความรับผิดชอบ กระตือรือร้นในการทำงาน
คิดสร้างสรรค์ชิ้นงาน
ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
ประมวลภาพกิจกรรมการเรียนรู้




 ตัวอย่างชิ้นงาน

- ตัวอย่างแผนภาพโครงเรืาองจากวรรณกรรมตอนที่ ๗-๘




 - ตัวอย่างสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์







1 ความคิดเห็น:


  1. บันทึกหลังการเรียนรู้
    ในสัปดาห์นี้เป็นกิจกรรมการเรียนรู้ที่คุณครูได้นำหลักภาษาเกี่ยวกับ ตัวการันต์ เข้ามาร่วมเรียนรู้กับการอ่านวรรณกรรมในตอนที่ ๗-๘ นี้ โดยแก่นของวรรณกรรมในตอนนี้ ได้สะท้อนเกี่ยวกับความจริงที่ถูกครอบงำและบิดเบือนด้วยสัญชาตญาณความกลัวของมนุษย์ที่จะเป็นภัยต่อตัวเอง ซึ่งในวันต่อมาหลังจากได้อ่านวรรณกรรมและวิเคราะห์ด้วยคำถามต่างๆ เพื่อเข้าใจแก่นแท้ของวรรณกรรม ดังที่ได้กล่าวมานั้น พี่ๆ ป.5 ก็ได้รับการบ้านเกี่ยวกับการหาคำศัพท์ที่มีตัวการันต์ มาให้ได้จำนวนเยอะที่สุด ซึ่งการบ้านแต่ละคนที่นำมาส่งก็เห็นคำศัพท์มากมายหลังที่ทุกคนได้นำศัพท์ มาแชร์ร่วมกันแล้ว คุณครูก็ได้เขียน คำที่มีตัวการันต์ อาทิเช่น เซ็นชื่อ เปอร์เซ็นต์ มนุษย์ เหตุการณ์ คอมพิวเตอร์ ฯลฯ และได้ให้พี่อ่านร่วมกัน พร้อมใช้คำถาม พี่ๆสังเกตเห็นอะไรบ้าง ทุกคนเห็นเป็นเสียงเดียวกันว่า คำทุกคำ เป็นตัวการันต์ คุณครูก็ถามต่ออีกว่า “ แล้วคำว่า ? เซ็นชื่อ เปอร์เซ็นต์ ” จึงมีความแตกต่างกัน พี่มายด์ ให้ความเห็นว่า “ เพราะว่าในภาษาอังกฤษ คำว่า เปอร์เซ็นต์ เขียน ด้วย PERSENT ส่วนคำว่า เซ็น เขียนด้วย SIEN ” ในคำแรก ลงท้ายด้วยตัว T ก็เลย เขียนเป็น ต์ ค่ะ หลังจากนั้น คุณครู ยกตัวอย่างคำอื่นๆให้พี่ได้ร่วมอ่านและแสดงความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับตัวการันต์
    จากนั้นคุณครูก็แบ่งพี่ ป.5 ออกเป็น ๒ ทีม และร่วมเล่นเกม เขียนคำการันต์จับเวลา เช่น ครูบอกว่า คำที่มี ย์ พี่ๆแต่ละกลุ่มก็จะส่งตัวแทนออกเขียนคำนั้นๆ ลงบนบอร์ด ตามเวลาที่กำหนด ในวันต่อมาคุณครูได้เชื่อมโยงกิจกรรมโดยถามพี่ๆ ป.5 ว่า “ชื่อใครในห้องนี้มีตัวการันต์บ้าง ?” พี่ๆช่วยกันตอบค่ะ ได้ชื่อ มาประมาณ ๓ - ๔ คน ประกอบด้วย มายด์ กัณฑ์ กาฟิวส์ อิทธิฤทธิ์ เนสเตอร์ เปอร์เซ็นต์ และให้ร่วมกันสังเกตคำที่มีตัวการันต์ ต่อไปว่า ลักษณะ ตำแหน่งและการออกเสียงเป็นอย่างไร พี่อาย แสดงความคิดเห็นว่า “ผมคิดว่า คำไหนที่มีตัวการันต์ก็จะไม่ออกเสียงตัวนั้นครับ เช่น คำว่า การันต์ ถ้าไม่มีทัณฑฆาต อยู่บน (ต) ก็จะอ่านว่า กา – รัน- ตะ ครับ”
    หลังการร่วมแชร์ความคิดเห็น คุณครูก็ได้แจกหนังสือวรรณกรรมที่พี่ๆอ่านและให้ค้นหาคำที่มีตัวการันต์ จากตอนที่ ๗ – ๘ เพื่อนำมาสร้างเป็นโมบาย คำการันต์ ต่อไปค่ะ และปิดท้ายด้วยการสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ค่ะ

    ตอบลบ