เป้าหมาย (understanding Goal):

เป้าหมาย (understanding Goal): ผู้เรียนสามารถอ่านและวิเคราะห์เรื่องราวทั้งจากบทร้อยแก้วและร้อยกรองได้ เข้าใจความหมาย จับใจความสำคัญและถ่ายทอดด้วยการเล่า การเขียน อธิบายให้คนอื่นฟังได้อย่างมีเหตุผล มีนิสัยรักการอ่าน ตระหนักและเห็นความสำคัญของเรื่องที่อ่าน สามารถบอกข้อคิดของเรื่องและนำมาใช้ในชีวิตได้ มีมารยาทในการอ่าน การฟัง การพูด การเขียนที่เหมาะสม สามารถสรุปองค์ความรู้และเชื่อมโยงหลักภาษาเพื่อนำมาปรับใช้ในชีวิตได้อย่างสร้างสรรค์และเหมาะสม


Week2


           เป้าหมายรายสัปดาห์ : เข้าใจและสามารถถ่ายทอดเรื่องราวที่ได้อ่านจากวรรณกรรมเกี่ยวกับการกระทำของทั้งมนุษย์ม้าที่แสดงออกเพื่อสนองความต้องการของตนเองออกมาในรูปแบบการเขียน          แผนภาพโครงเรื่องที่ลำดับเหตุการณ์ต่างๆได้
Week
Input
Process
Output
Outcome
(๑๗๒๑
.ค ๕๘)
โจทย์ : ตอนที่ ๑
วรรณกรรมเรื่อง : ไม้หลา ปริศนาแห่งม้าตัวหนึ่ง (ตอนที่ ๑)
หลักภาษา  : แผนภาพโครงเรื่อง

Key Questions :
- นักเรียนคิดว่าจากวรรณกรรมที่อ่านในตอนที่ ๑ ความสัมพันธ์ของคนเลี้ยงม้ากับม้าด่างเป็นอย่างไร
- นักเรียนจะสามารถถ่ายทอดความเข้าใจจากเรื่องที่อ่านในรูปแบบแผนภาพโครงเรื่องได้อย่างไร
เครื่องมือคิด :
Round Robin : ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องราวที่เกิดขึ้นในตอนที่๑ ของวรรณกรรม ไม้หลา ปริศนาแห่งม้าตัวหนึ่ง
Show and Share : องค์ประกอบที่จะนำมาเขียนเป็นแผนภาพโครงเรื่อง

สื่อและแหล่งเรียนรู้
- หนังสือวรรณกรรมต่างประเทศเรื่อง ไม้หลา ปริศนาแห่งม้าตัวหนึ่ง
- คำศัพท์ ๒๐คำ
- เกม ถ่ายคำจากภาพ


วันจันทร์ 1 ชั่วโมง
ชง  :  นักเรียนร่วมกันอ่านวรรณกรรมโดยการอ่านออกเสียงพร้อมกัน
เชื่อม : ครูตั้งคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่านโดยให้สอดรับกับพฤติกรรมสมอง ดังนี้
จำ : ให้นักเรียนเรียงลำดับเหตุการณ์ของเรื่อง,บอกชื่อตัวละคร,
เข้าใจ : นักเรียนช่วยกันสรุปเนื้อเรื่องหรือข้อคิดที่ได้จากเรื่อง
วิเคราะห์/สังเคราะห์ นักเรียนช่วยกันวิเคราะห์/สังเคราะห์เหตุการณ์  ลักษณะนิสัยของตัวละครแต่ละตัว ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น
นำไปใช้ : นักเรียนเทียบเคียงเรื่องราวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในวรรณกรรมที่อ่านกับเหตุการณ์ปัจจุบัน
ประเมินค่า : นักเรียนคิดว่า การกระทำของตัวละครเหมาะสมหรือไม่  เหตุการณ์ต่อไปจะเป็นอย่างไร
สร้างสรรค์ : นักเรียนแต่ละคนสะท้อนมุมมองต่อเรื่องราวในรูปแบบภาพวาด  ที่ถ่ายทอดบรรยากาศของเหตุการณ์
ใช้ : วาดภาพบรรยายเหตุการณ์ นำเสนอผลงาน และสรุปเรื่องที่ได้เรียนรู้ในวันนี้
วันอังคาร 1 ชั่วโมง
ชง : ครูตั้งคำถามกระตุ้นคิด “นักเรียนคิดว่าจากวรรณกรรมที่อ่านในตอนที่ ๑ ความสัมพันธ์ของคนเลี้ยงม้ากับม้าด่างเป็นอย่างไร?”
เชื่อม : นักเรียนแต่ละคนร่วมแสดงความคิดเห็น
- ครูและนักเรียนร่วมกิจกรรมเขียนตามคำบอก ๒๐ คำจากวรรณกรรมตอนที่ ๑ จากเรื่องไม้หลา ปริศนาแห่งม้าตัวหนึ่ง
เชื่อม : นักเรียนและครูร่วมเฉลยคำศัพท์  พร้อมร่วมกันเล่นเกม
Bingo คำศัพท์
ใช้ : นักเรียนหาความหมายของคำศัพท์และนำคำศัพท์ไปแต่งนิทานตามจินตนาการอย่างสร้างสรรค์
วันพุธ 1 ชั่วโมง
ชง  :  นักเรียนเล่นเกม ถ่ายคำจากภาพ
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด นักเรียนสังเกตเห็นอะไรบ้างจากภาพ ?”
เชื่อม : นักเรียนแต่คนร่วมกันแสดงความคิดเห็นและวิเคราะห์เหตุการณ์ที่สังเกตเห็นจากภาพ
- ครูและนักเรียนร่วมกันทบทวนเรื่องราวที่เกิดขึ้นในตอนที่ ๑ของวรรณกรรม ไม้หลา ปริศนาแห่งม้าตัวหนึ่ง
ชง : ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด นักเรียนจะสามารถถ่ายทอดความเข้าใจจากเรื่องที่อ่านในรูปแบบแผนภาพโครงเรื่องได้อย่างไร?”
เชื่อม : นักเรียนแต่ละคนร่วมแสดงความคิดเห็น
ใช้ : นักเรียนแต่ละคนออกแบบแผนภาพโครงเรื่องของเรื่องราวในตอนที่ ๑
วันพฤหัสบดี 1 ชั่วโมง
ชง :  นักเรียนแต่ละคนนำเสนอแผนภาพโครงเรื่อง ของตนเอง
เชื่อม : ครูและนักเรียนอภิปรายร่วมกันเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้
ใช้ : นักเรียนแต่ละคนสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ภาระงาน :  วิเคราะห์เหตุการณ์และสิ่งที่ได้เรียนรู้จากวรรณกรรม
- วาดภาพและถ่ายทอดบทความสรุปเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นของวรรณกรรม ในตอนที่ ๑
- แต่งนิทานจากคำศัพท์
- ออกแบบแผนภาพโครงเรื่องของเรื่องราวในตอนที่ ๑พร้อมนำเสนอ
- สรุปองค์รู้ที่ได้จากกระบวนการเรียนรู้ในสัปดาห์นี้
ชิ้นงาน :  ภาพสะท้อนบรรยากาศเหตุการณ์สำคัญ
- นิทานคำศัพท์
- แผนภาพโครงเรื่อง
วรรณกรรมไม้หลา : ตอนที่
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ความรู้ : เข้าใจและสามารถถ่ายทอดเรื่องราวที่ได้อ่านจากวรรณกรรมเกี่ยวกับการกระทำของทั้งมนุษย์ม้าที่แสดงออกเพื่อสนองความต้องการของตนเองออกมาในรูปแบบการเขียนแผนภาพโครงเรื่องที่ลำดับเหตุการณ์ต่างๆได้
ทักษะ :
ทักษะการคิด
การคิดเชื่อมโยงเรื่องที่อ่านกับกับเหตุการณ์ปัจจุบันของการดำเนินชีวิตของตนเอง
ทักษะการสื่อสาร
อธิบายสิ่งที่ตนเอง/กลุ่มวางแผนและจัดทำชิ้นงานในรูปแบบแผนภาพโครงเรื่องได้อย่างมีเหตุผลและน่าสนใจ
- สามารถถ่ายทอดเรื่องราวตามความเข้าใจของตนเองได้อย่างลึกซึ้ง
ทักษะการเรียนรู้
- การวางแผนทำชิ้นงานสอดคล้องของเนื้อหาและ กิจกรรมที่ได้เรียนรู้
- มีความกระตือรือร้นและลงมือทำสิ่งได้เรียนรู้ด้วยตนเอง
คุณลักษณะ :
เคารพ สิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่นอย่างไม่มีอคติ
มีความรับผิดชอบ กระตือรือร้นในการทำงาน
ที่
คิดสร้างสรรค์ชิ้นงาน
ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น





ประมวลภาพกิจกรรมการเรียนรู้


 

ตัวอย่างชิ้นงาน
- ตัวอย่างนิทาน จากการนำคำศัพท์มาแต่งเป็นเรื่องราว


- บรรยากาศและภาพเหตุการณ์ ตอนที่ ๑ จากวรรณกรรม  ตามความเข้าใจ


- ตัวอย่างแผนภาพโครงเรื่อง จากวรรณกรรม ตอนที่ ๑


    
- ตัวอย่างสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
 -ข ่




1 ความคิดเห็น:

  1. บันทึกหลังการเรียนรู้
    ในสัปดาห์นี้เป็นกิจกรรมการเรียนรู้ที่เริ่มต้นด้วยการอ่านวรรณกรรมในตอนแรกของเรื่อง หลังจากที่คาดเดากันไปแล้วในสัปดาห์ที่ผ่านมา เมื่ออ่านจบคุณครูและพี่ๆ ก็ได้ร่วมพูดคุยเกี่ยวกับเรื่อองราวและบรรยากาศที่เกิดขึ้น ทั้งยังให้พี่ๆได้ถ่ายทอดความรู้สึกที่สัมผัสได้จากการอ่าน ในรูปแบบ ภาพวาด ซึ่งส่วนใหญ่มีมุมมองด้านเดียวกัน คือทุกเหตุการณ์เกิดขึ้นที่ฟาร์ม ม้า กิจกรรมในวันต่อมาเป็นการนำคำศัพท์ ที่คุณครูนำมาจากวรรณกรรมในตอนที่ ๑ พี่ๆได้ เขียน ในลักษณะของการเขียนตามคำบอก จำนวน ๒๐ คำ อาทิเช่น คำว่า คฤหาสน์ บังเหียน สั่นระริก ปิดท้ายกิจกรรมการเขียนคำศัพท์ด้วยนำคำศัพท์แต่ละคำมาร่วมเล่นเกม Bingo และนำไปแต่งนิทานใหม่ คนละ ๑ เรื่องค่ะ
    ในวันต่อมาคุณครูได้นำหลักภาษาเกี่ยวกับ “การเขียนแผนภาพโครงเรื่อง “จากวรรณกรรมที่ได้อ่านมาให้พี่ได้ออกแบบ โดยประกอบด้วย เหตุการณ์สำคัญ สถานที่ ตัวละคร ข้อคิด และเหตุการณ์ในตอนต่อไป โดยก่อนหน้านี้เป็นการทบทวนเรื่องราวและเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในวรรณกรรมที่ได้อ่านร่วมกัน จากนั้นแต่ละคนก็ได้สรุปความเข้าใจที่ได้เรียนรู้ของใครของเราเพื่อทบทวนตนเองอีกครั้งค่ะ

    ตอบลบ